วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559

มารู้จัก PHP กันเถอะ!!



PHP คืออะไร    
                  ในช่วงแรกภาษาที่นิยมใช้งานบนระบบเครือข่าย คือ ภาษา HTML (Hypertext Markup Language) แต่ภาษา HTML มีลักษณะเป็น Static คือ ภาษาที่มีลักษณะของข้อมูลคงที่ ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการในปัจจุบันที่นิยมใช้ระบบเครือข่าย Internet เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างกัน ทำให้ต้องการใช้เว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็นแบบ Dynamic คือ เว็บไซต์ที่ข้อมูลสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยอัตโนมัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ผู้เขียนเว็บไซต์เป็นผู้กำหนด และการควบคุมการทำงานเหล่านี้จะกระทำโดยโปรแกรมภาษาสคริปต์ เช่น ภาษา PHP ซึ่งเป็นภาษาหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
                   PHP ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1994 โดย Rasmus Lerdorf ต่อมามีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก จึงได้ออกเป็นแพ็คเกจ "Personal Home Page" ซึ่งเป็นที่มาของ PHP โดยภาษา PHP เป็นแบบ Server Side Script และเป็น Open Source ที่ผู้ใช้ทั่วไปสามารถดาวน์โหลด Source Code และโปรแกรมไปใช้ฟรี ได้ที่ http://www.php.net
                   พอกลางปี ค.ศ.1995 เขาก็ได้พัฒนาตัวแปลภาษา PHP ขึ้นมาใหม่ โดยใช้ชื่อว่า PHP/FI เวอร์ชั่น 2 ซึ่งได้เพิ่มความสามารถในการรับข้อมูลที่ส่งมาจากฟอร์มของ HTML (จึงมีชื่อว่า FI หรือ Form Interpreter) นอกจากนั้นยังเพิ่มความสามารถในการติดต่อกับฐานข้อมูลอีกด้วย จึงทำให้ผู้คนเริ่มหันมาสนใจ PHP กันมากขึ้น
                   ในปี 1997 มีผู้ร่วมพัฒนา PHP เพิ่มอีก 2 คน คือ Zeev Suraski และ Andi Gutmans (กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า Zend ซึ่งย่อมาจาก Zeev และ Andi ) โดยได้แก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ และเพิ่มเติมเครื่องมือให้มากขึ้น

โครงสร้างของภาษา PHP
                   ภาษา PHP มีลักษณะเป็น embedded script หมายความว่าเราสามารถฝังคำสั่ง PHP ไว้ในเว็บเพจร่วมกับคำสั่ง(Tag) ของ HTML ได้ และสร้างไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .php, .php3 หรือ .php4 ซึ่งไวยากรณ์ที่ใช้ใน PHP เป็นการนำรูปแบบของภาษาต่างๆ มารวมกันได้แก่ C, Perl และ Java ทำให้ผู้ใช้ที่มีพื้นฐานของภาษาเหล่านี้อยู่แล้วสามารถศึกษา และใช้งานภาษานี้ได้ไม่ยาก 
ตัวอย่างที่ 1
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
<html>
<head>
<title>Example 1 </title>
</head>
<body>

<?
   echo"Hi, I'm a PHP script!";
?>

</body>
</html>

 จากตัวอย่าง บรรทัดที่ 6 - 8 เป็นส่วนของสคริปต์ PHP ซึ่งเริ่มต้นด้วย <? ตามด้วยคำสั่งที่เรียกฟังก์ชั่นหรือข้อความ และปิดท้ายด้วย ?> สำหรับตัวอย่างนี้เป็นสคริปต์ที่แสดงข้อความว่า "Hi, I'm a PHP script" โดยใช้คำสั่ง echo ซึ่งเป็นคำสั่งที่ใช้ในการแสดงผลของภาษาสคริปต์ PHP 
!!!!!เราสามารถฝังคำสั่ง PHP ไว้ในเว็บเพจหนึ่งๆ โดยเปิดและปิดด้วยแท็ก(Tag) ของ PHP กี่ครั้งก็ได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 2
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
<html>
<head>
<title>Example 1 </title>
</head>
<body>

<table border=1>
<tr>
<td>
<? echo"PHP script block 1"; ?></td>
<td>
<? echo"PHP script block 2 "; ?></td>
</tr>
</table>

<?
   echo"PHP script block 3 <br> ";
   echo date("ขณะนี้เวลา H:i น.");
?>

</body>
</html>



ลักษณะเด่นของ PHP
     1.ใช้ได้ฟรี
     2.PHP เป็นโปร แกรมวิ่งข้าง Sever ดังนั้นขีดความสามารถไม่จำกัด
     3.Conlatfun นั่นคือPHP วิ่งบนเครื่อง UNIX,Linux,Windows ได้หมด
     4.เรียนรู้ง่าย เนืองจาก PHP ฝั่งเข้าไปใน HTML และใช้โครงสร้างและไวยากรณ์ภาษาง่ายๆ
     5.เร็วและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมือใช้กับ Apach Xerve เพราะไม่ต้องใช้โปรแกรมจากภายนอก
     6.ใช้ร่วมกับ XML ได้ทันที
     7.ใช้กับระบบแฟ้มข้อมูลได้
     8.ใช้กับข้อมูลตัวอักษรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     9.ใช้กับโครงสร้างข้อมูล แบบ Scalar,Array,Associative array
     10.ใช้กับการประมวลผลภาพได้

ความสามารถของภาษา PHP
·         เป็นภาษาที่มีลักษณะเป็นแบบ Open source ผู้ใช้สามารถ Download และนำ Source code ของ PHP ไปใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
·         เป็นสคริปต์แบบ Server Side Script ดังนั้นจึงทำงานบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ ไม่ส่งผลกับการทำงานของเครื่อง Client โดย PHP จะอ่านโค้ด และทำงานที่เซิร์ฟเวอร์ จากนั้นจึงส่งผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาที่เครื่องของผู้ใช้ในรูปแบบของ HTML ซึ่งโค้ดของ PHP นี้ผู้ใช้จะไม่สามารถมองเห็นได้
·         PHP สามารถทำงานได้ในระบบปฎิบัติการที่ต่างชนิดกัน เช่น Unix, Windows, Mac OS หรือ Risc OS อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจาก PHP เป็นสคริปต์ที่ต้องทำงานบนเซิร์ฟเวอร์ ดังนั้นคอมพิวเตอร์สำหรับเรียกใช้คำสั่ง PHP จึงจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ไว้ด้วย เพื่อให้สามารถประมวลผล PHP ได้
·         PHP สามารถทำงานได้ในเว็บเซิร์ฟเวอร์หลายชนิด เช่น Personal Web Server(PWS), Apache, OmniHttpd และ Internet Information Service(IIS) เป็นต้น
·         ภาษา PHP สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming)
·         PHP มีความสามารถในการทำงานร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูลที่หลากหลาย ซึ่งระบบจัดการฐานข้อมูลที่สนับสนุนการทำงานของ PHP เช่น Oracle, MySQL, FilePro, Solid, FrontBase, mSQL และ MS SQL เป็นต้น
·         PHP อนุญาตให้ผู้ใช้สร้างเว็บไซต์ซึ่งทำงานผ่านโปรโตคอลชนิดต่างๆ ได้ เช่น LDAP, IMAP, SNMP, POP3 และ HTTP เป็นต้น
·         โค้ด PHP สามารถเขียน และอ่านในรูปแบบของ XML ได้


             

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558

IP ADDRESS



 IP Address ย่อมาจากคำเต็มว่า Internet Protocal Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP 
ถ้าเปรียบเทียบก็คือบ้านเลขที่ของเรานั่นเอง ในระบบเครือข่าย จำเป็นจะต้องมีหมายเลข IP กำหนดไว้ให้กับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการ IP ทั้งนี้เวลามีการโอนย้ายข้อมูล หรือสั่งงานใดๆ จะสามารถทราบตำแหน่งของเครื่องที่เราต้องการส่งข้อมูลไป จะได้ไม่ผิดพลาดเวลาส่งข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด  เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1  เป็นต้น  โดยหมายเลข IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีค่าไม่ซ้ำกัน สิ่งตัวเลข 4 ชุดนี้บอก คือ Network ID กับ Host ID ซึ่งจะบอกให้รู้ว่า เครื่อง computer ของเราอยู่ใน network ไหน และเป็นเครื่องไหนใน network นั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Network ID และ Host ID มีค่าเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับว่า IP Address นั้น อยู่ใน class อะไร 
       เหตุที่ต้องมีการแบ่ง class ก็เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ เป็นการแบ่ง IP Address ออกเป็นหมวดหมู่นั้นเอง สิ่งที่จะเป็นตัวจำแนก class ของ network ก็คือ bit ทางซ้ายมือสุดของตัวเลขตัวแรกของ IP Address (ที่แปลงเป็นเลขฐาน 2 แล้ว) นั่นเอง โดยที่ถ้า bit ทางซ้ายมือสุดเป็น 0 ก็จะเป็น class A ถ้าเป็น 10 ก็จะเป็น class B ถ้าเป็น 110 ก็จะเป็น class C ดังนั้น IP Address จะอยู่ใน class A ถ้าตัวเลขตัวแรกมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ? 127 (000000002 ? 011111112) จะอยู่ใน class B ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 128 ? 191 (100000002 ? 101111112) และ จะอยู่ใน class C ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 192 - 223 (110000002 ? 110111112) มีข้อยกเว้นอยู่นิดหน่อยก็คือตัวเลข 0, 127 จะใช้ในความหมายพิเศษ จะไม่ใช้เป็น address ของ network ดังนั้น network ใน class A จะมีค่าตัวเลขตัวแรก ในช่วง 1 ? 126 
       สำหรับตัวเลขตั้งแต่ 224 ขึ้นไป จะเป็น class พิเศษ  อย่างเช่น  Class D ซึ่งถูกใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast ของบาง Application และ Class E ซึ่ง Class นี้เป็น Address ที่ถูกสงวนไว้ก่อน ยังไม่ถูกใช้งานจริง ๆ  โดย Class D และ Class E นี้เป็น Class พิเศษ ซึ่งไม่ได้ถูกนำมาใช้งานในภาวะปกติ

    ตัวอย่าง IP Address
    Class A ตั้งแต่ 10.xxx.xxx.xxx
    Class B ตั้งแต่ 172.16.xxx.xxx ถึง 172.31.xxx.xxx
    Class C ตั้งแต่ 192.168.0.xxx ถึง 192.168.255.xxx 

       จาก IP Address เราสามารถที่จะบอก ได้คร่าวๆ ว่า computer 2 เครื่องอยู่ใน network วงเดียวกันหรือเปล่าโดยการเปรียบเทียบ Network ID ของ IP Address ถ้ามี Network ID ตรงกันก็แสดงว่าอยู่ใน network วงเดียวกัน เช่น computer เครื่องหนึ่งมี IP Address 1.2.3.4 จะอยู่ใน network วงเดียวกับอีกเครื่องหนึ่งซึ่งมี IP Address 1.100.150.200 เนื่องจากมี Network ID ตรงกันคือ 1 (class A ใช้ Network ID 1 byte) 

    วิธีตรวจสอบ IP Address
    1.คลิกปุ่ม Start เลือก Run
    2.พิมพ์คำว่า cmd กดปุ่ม OK
    3.จะได้หน้าต่างสีดำ
    4.พิมพ์คำว่า ipconfig กด enter
    5.จะเห็นกลุ่มหมายเลข IP Address 

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์

เรามาสร้างเว็บไซต์กันเถอะ
     บทความนี้เราจะมาลองทำเว็บไซต์กัน โดยการทำเว็บไซต์ในบทความนี้จะเป็นแบบพื้นฐานเพื่อให้คุณได้เข้าใจถึงการทำงานของเว็บไซต์ ซึ่งเราจะใช้โปรแกรม notepad ซึ่งจะมีอยู่ในทุกเครื่องที่ใช้ระบบ window 

    โปรแกรม notepad เป็นโปรแกรมที่อยู่ในประเภท Text editor ใช้ในการแก้ไขข้อความ มีความสำคัญมากในการทำเว็บไซต์ เพราะจริงๆแล้วเว็บไซต์ที่เราเห็นว่ามีหน้าตาสวยงาม มีรูปภาพ หรือมีการเคลื่อนไหวต่างๆ ซึ่งจริงๆแล้วตัวเว็บไซต์นั้นก็ประกอบด้วย ตัวหนังสือมากมายรวมกันอยู่เป็นไฟล์(เราจะเรียกว่าเว็บเพจ) แต่มีการถูกแปลงที่เครื่องของคุณให้เป็นรูป หรือหน้าตาตามที่เราเห็น 

ซึ่งในบทนี้เรามาลองทำเว็บเพจดู ขั้นตอนตามนี้
1.ให้คุณเปิดโปรแกรม Notepad ขึ้นมา โดยไปที่ All programs > Accessories > Notepad 


ซึ่งโปรแกรม notepad จะมีหน้าตาแบบนี้ 


2. ให้คุณพิมพ์ข้อความต่อไปนี้ ใน notepad
   
ข้อความที่คุณพิมพ์ไปนั้นเราเรียกว่า 
SOURCE CODE เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ เรียกว่าภาษา HTML ซึ่งใช้ในการจัดหน้าของเว็บเพจ คุณสามารถศึกษารายละเอียดของภาษา html ได้ที่หัวข้อของ html 

เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วให้เราเลือก save as จะมีหน้าต่างออกมา ให้เราใส่ชื่อไฟล์เป็น index.html และเลือกชนิดไฟล์ (save as type) เป็นแบบ All files จากนั้นก็ save ไฟล์ 


เราจะได้ไฟล์มาดังรูปข้างล่าง ให้เราคลิกเพื่อเปิดไฟล์ index.html เราก็จะเห็นเว็บไซต์แรกของเรา ซึ่งจะถูกเปิดโดยโปรแกรม internet explorer (ต่อไปนี้เราจะเรียกว่า Web Browser) 


จากรูปจะบรรยายการทำงานของ html ที่เขียนเอาไว้ ซึ่งจะเห็นว่าตัวหนังสือที่อยู่ใน <title>....</title> จะแสดงที่ส่วนหัวของโปรแกรม internet explorer และในส่วนของ <body>....</body> จะแสดงในส่วนแสดงผลของโปรแกรม 

เราก็ได้เห็นเว็บไซต์ที่เราทำเองไปแล้ว ซึ่งในบางเครื่องที่ลองทำเว็บอาจมีปัญหาได้ เราจะมาลองดูว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร 

1.เปิดไฟล์ไม่ได้    ให้เราลองเปิดโดยวิธีนี้แทน 

เปิดโปรแกรม internet explorer ไปที่ file > open > browse เลือกไฟล์ที่ เรา save และกดที่ open 

2.เปิดแล้วเป็นภาษาต่างดาว อ่านไม่ออก     จากรูปให้เราไปที่ file > view > encoding > thai 


หลังจากที่เราลองเขียน sorce code ไปแล้ว เราจะลองไปดูเว็บไซต์อื่นกันบ้างว่าเค้าเขียน source code กันอย่างไร ซึ่งการดู sorce code ของเว็บไซต์อื่นก็ทำได้โดย คลิกขวาที่เว็บที่เรากำลังดูอยู่ เลือก view soure 


เราอาจจะเห็นว่าทำไมเว็บอื่น soure code เยอะมาก ซึ่งเราก็ไม่ต้องตกใจครับจริงแล้ว source code พวกนี้เราไม่ได้ใช้ notepad เขียน เพราะจะลำบากในการเขียนมากแต่ที่ในบทความนี้ให้ใช้ notepad เพราะเป็นโปรแกรมที่มีอยู่ในทุกเครื่อง จริงแล้วเราจะใช้โปรแกรมช่วยเขียน เช่น DREAMWEAVER , HTML - KIT , EDIT PLUS เป็นต้น ซึ่งในบทความต่อไปจะเป็นการลองใส่รูปในเว็บไซต์เพื่อเพิ่มสีสันในเว็บของเรา





Domain Name





โดเมนเนม(Domain Name)คืออะไร
 
โดเมนเนมภาษาอังกฤษเขียนว่า "Domain Name" โดเมนเนม ความหมายโดยทั่วๆไป หมายถึง ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ ชื่อเว็บไซต์ ชื่อบล็อก (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์
หรือ อีเมล์แอดเดรส) ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้จดจำและนำไปใช้งานได้ง่ายทั้งในการเข้าชมผ่านบราวเซอร์ของผู้ใช้ทั่วไป ยังรวมไปถึงผู้ดูแลระบบ Domain Name Server ที่สามารถ
แก้ไขไอพีแอดเดรส (IP Address) ของชื่อโดเมนเนม (Domain Name) นั้นๆ ได้ทันที
 
โดเมนเนม หรือ ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรสผู้ใช้ไม่จำเป็นต้อง
รับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไป


ข้อสำคัญในการจดโดเมน
 
1. ต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า 3 ตัวอักษร และมีตัวอักษร "a" ถึง "z" หรือ "A" ถึง "Z" หรือมี "0" ถึง "9" และ "-" ได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
2. ต้องไม่มีสัญลักษณ์พิเศษเช่น @!#$%^&*()_+= ต่างๆ
3. สามารถมี - ( Dash ) ขั้นได้ แต่ห้ามอยู่หน้าเช่น -yourdomain ไม่สามารถจดได้ ที่จดได้คือ yourdomain-a.com แต่ไม่สามารถจดแบบ yourdomain-.com ได้
 
ไอพีแอดเดรส (IP Address) 1 ไอพี สามารถใช้โดเมนเนมได้มากกว่า 1 โดเมนเนม และหลายๆ โดเมนเนมอาจจะใช้ไอพีแอดเดรสเดียวกันได้
ตัวอย่างต่อไปนี้ แสดงถึงความแตกต่างระหว่าง ยูอาร์แอล (URL) โดเมนเนม และ ซับโดเมน
• URL (ยูอาร์แอล) : http://www.domain.com
• Sub Domain (ซับโดเมน) : subdomain.domain.com
• Sub Domain (ซับโดเมน) : subdomain.domain.com
 
โดยทั่วไป ไอพีแอดเดรสกับชื่อเซิร์ฟเวอร์มักจะแปลงกลับไปมาได้ 1 ไอพีแอดเดรสมักหมายถึง 1 ชื่อเซิร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบัน ความสนใจในเรื่องเว็บทำให้จำนวนเว็บไซต์
มีมากกว่าเซิร์ฟเวอร์ โพรโทคอล HTTP จึงระบุว่าไคลเอนต์จะเป็นผู้บอกเซิร์ฟเวอร์ว่าชื่อใดที่ต้องการใช้ วิธีนี้ 1 เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ 1 ไอพีแอดเดรสจะใช้โดเมนเนมได้หลายชื่อ
ยกตัวอย่าง เซิร์ฟเวอร์ที่มีไอพี 123.45.67.89 อาจจะใช้งานโดเมนเนมเหล่านี้ได้:
• domain1.com
• domain2.com
• domain3.us

ประโยชน์ที่สำคัญ
 
+ประโยชน์ที่สำคัญของ DNS คือช่วยแปลงหมายเลขไอพีซึ่งเป็นชุดตัวเลขที่จดจำได้ยาก (เช่น 123.45.67.89) มาเป็นชื่อที่สามารถจดจำได้ง่ายแทน(เช่น domain-name.org)
 
องค์กรที่กำหนดและควบคุมโดเมน ได้แก่ ICANN
ICANN ย่อมาจาก Internet Corporation for Assigned Named and Numbers รายละเอียดดูได้จาก http://www.icann.org
+โดเมนเนม มีหลายสกุล แต่ที่นิยมมากที่สุดนั้นก็คือ .com เพราะเป็น เป็นสกุลในยุคแรกๆ ที่เริ่มใช้กัน และง่ายต่อการจดจำ






ประเภทของ Domain Name แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
 
1. โดเมน 2 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน
2. โดเมน 3 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ
 
โดเมนเนม 2 ระดับ
 
จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน เช่น www.dotregis.com
 
ประเภทของโดเมน คือ คำย่อขององค์กร โดยประเภทขององค์กรที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้ .com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์ ธุรกิจการค้า
.org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร เช่น สมาคม หรือมูลนิธิ
.net คือ องค์กรใด หรือบริษัทใด ที่ทำงานเกี่ยวกับ เกตเวย์ (Gateway) หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network)
.edu คือ สถาบันการศึกษา
.gov คือ องค์กรของรัฐบาล
.mil คือ องค์กรทางทหาร
.info คือ เว็บไซต์ที่นำเสนอข้อมูลเป็นหลัก
.biz คือ เว็บไซต์องค์กรที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้า
.name คือ เว็บไซต์ครอบครัว บุคคล
.mobi คือ เว็บไซต์โทรศัพท์มือถือ
.tel คือ เว็บไซต์การสื่อสาร
.travel คือ เว็บไซต์การท่องเที่ยว โรงแรม ทัวร์
* ทั้งนี้ เป็นเพียงหมวดหมู่ในการสื่อสารให้กับผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ให้ตรงกลุ่มเป้าหมายเท่านั้น
 
โดเมนเนม 3 ระดับ
 
จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ เช่น www.cu.ac.th, www.nectec.or.th, www.google.co.th
 
ประเภทขององค์กรที่พบบ่อย คือ
.co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
.ac คือ สถาบันการศึกษา
.go คือ องค์กรของรัฐบาล
.net คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย
.or คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
 
ตัวย่อของประเทศที่ตั้งขององค์กร
.th คือ ประเทศไทย .au คือ ประเทศออสเตรเลีย
.cn คือ ประเทศจีน .de คือ ประเทศเยอรมัน
.jp คือ ประเทศญี่ปุ่น
.uk คือ ประเทศอังกฤษ .us คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา
.vn คือ ประเทศเวียดนาม
 
+โดเมนระดับบนสุดตามรหัสประเทศใช้งานอยู่
 
.AC .AD .AE .AF .AG .AI .AL .AM .AN .AO .AQ .AR .AS .AT .AU .AW .AX .AZ .BA .BB .BD .BE .BF .BG .BH .BI .BJ .BM .BN .BO .BR .BS .BT .BW .BY .BZ .CA
.CC .CD .CF .CG .CH .CI .CK .CL .CM .CN .CO .CR .CU .CV .CX .CY .CZ .DE .DJ .DK .DM .DO .DZ .EC .EE .EG .ER .ES .ET .EU .FI .FJ .FK .FM .FO .FR .GA .GD
.GE .GF .GG .GH .GI .GL .GM .GN .GP .GQ .GR .GS .GT .GU .GW .GY .HK .HM .HN .HR .HT .HU .ID .IE .IL .IM .IN .IO .IQ .IR .IS .IT .JE .JM .JO .JP .KE .KG .KH
.KI .KM .KN .KP .KR .KW .KY .KZ .LA .LB .LC .LI .LK .LR .LS .LT .LU .LV .LY .MA .MC .ME .MD .MG .MH .MK .ML .MM .MN .MO .MP .MQ .MR .MS .MT
.MU .MV .MW .MX .MY .MZ .NA .NC .NE .NF .NG .NI .NL .NO .NP .NR .NU .NZ .OM .PA .PE .PF .PG .PH .PK .PL .PN .PR .PS .PT .PW .PY .QA .RE .RO .RS .RU
.RW .SA .SB .SC .SD .SE .SG .SH .SI .SK .SL .SM .SN .SR .ST .SV .SY .SZ .TC .TD .TF .TG .TH .TJ .TK .TL .TM .TN .TO .TR .TT .TV .TW .TZ .UA .UG .UK .US
.UY.UZ .VA .VC .VE .VG .VI .VN .VU .WF .WS .YE .ZA .ZM .ZW



Domain Name แบ่งออกตามการจดทะเบียนได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศ
2. การจดทะเบียนโดเมนภายในประเทศ
 
ตัวอย่างโดเมนของประเทศต่าง ๆ
โดเมนสำหรับประเทศไทย การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศ ( gTLD - Generic)
.com
.net
.org
 
การจดทะเบียนโดเมนภายในประเทศ (สำหรับประเทศไทย)(ccTLD - Country Code Top-level Domain)
Top - Level Domain
.th
 
Second - Level Domains
.co.th ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป (Commercial)
.or.th ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ และชื่อโดเมนต้องเป็นชื่อขององค์กร หรือตัวย่อของชื่อองค์กรนั้นๆ (Non-profit organizations)
.ac.th ใช้ทำเว็บไซต์ของสถานศึกษาต่างๆ ชื่อของโดเมนที่จดทะเบียนต้องเป็นชื่อของสถานศึกษานั้นๆหรือชื่อย่อของชื่อสถานศึกษา
.go.th ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการของประเทศไทย โดยปกติจะเป็น องค์กรขนาดใหญ่ (Governmental)
.in.th ใช้ทำเว็บไซต์ของบุคคลธรรมดาโดยทั่วไป ชื่อโดเมนจะใช้ชื่ออะไรก็ได้ ( Individuals or organizations)
.mi.th (Military)
.net.th (Internet provider)
 
+โดเมนสำหรับประเทศสหราชอาณาจักร การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศ ( gTLD - Generic)
.com, .net, .org
 
การจดทะเบียนโดเมนภายในประเทศ (สำหรับประเทศสหราชอาณาจักร) (ccTLD - Country Code)
Top - Level Domain
.uk
 
Second - Level Domains
.ac.uk - academic (tertiary education, further education colleges and research establishments) and learned societies
.co.uk - general use (usually commercial)
.gov.uk - government (central and local)
.ltd.uk - limited companies
.me.uk - general use (usually personal)
.mod.uk - Ministry of Defence and HM Forces public sites
.net.uk - ISPs and network companies
.nhs.uk - National Health Service institutions
.nic.uk - network use only (Nominet UK)
.org.uk - general use (usually for non-profit organisations)
.parliament.uk - parliament (MPs, etc, and also the Scottish Parliament)
.plc.uk - public limited companies
.police.uk - police forces
.sch.uk - local education authorities, schools, primary and secondary education, community education
 
+โดเมนสำหรับประเทศญี่ปุ่น การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศ ( gTLD - Generic)
.com, .net, .org
 
การจดทะเบียนโดเมนภายในประเทศ (สำหรับประเทศญี่ปุ่น) (ccTLD - Country Code)
Top - Level Domain
.jp
 
Second - Level Domains
ac.jp: higher level academic institutions, such as universities
ad.jp: JPNIC members
co.jp: most forms of incorporated companies, including foreign companies registered in Japan
ed.jp: educational institutions for individuals under 18
go.jp: Japanese government ministries and their endeavours
gr.jp: groups of two or more people, or groups of registered companies
lg.jp: local government authorities
ne.jp: network service providers
or.jp: registered organizations and non-profit organizations
 
+โดเมนสำหรับประเทศสหรัฐ การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศ ( gTLD - Generic)
.com, .net, .org
 
การจดทะเบียนโดเมนภายในประเทศ (สำหรับประเทศสหรัฐ) (ccTLD - Country Code)
Top - Level Domain
.us
 
Second - Level Domains
.ny.us for New York, and .va.us for Virginia.
.fed.us: federal government agencies (an alternative to .gov)
.kids.us: content "suitable for children under 13"
.nsn.us: Native sovereign nations (federally recognized Native American tribes)



ขอสิ่งสำคัญของชื่อเว็บไซต์
 
+โดเมนเนม ถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่มองข้ามไม่ได้เลยสำหรับเว็บไซต์นั้นๆ โดยเฉพาะกับการโฆษณาบนอินเตอร์เน็ต
ถ้าได้ชื่อที่เฉพาะเจาะจง ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจเป็นพื้นฐานเดิมอยู่แล้วนั้น จะทำให้โดเมนเนม หรือ เว็บไซต์นั้นๆ
จะได้รับความสนใจและเป็นที่จดจำได้ง่าย ไม่ใช่กับผู้เข้าชมหรือกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาชมเว็บไซต์ผ่านโดเมนเนมเท่านั้นยังรวม
ไปถึง Search Engine ชื่อดังต่างๆ เช่น Google, Yahoo, MSN เป็นต้น ที่จะเข้ามาแวะเวียนเข้ามาทำ index (Bot มาเก็บข้อมูล)
กับเว็บเพจหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์ของเรา
 
หลังจากจดโดเมนเนมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งสำคัญลำดับถัดมานั้นก็คือ โฮสติ้ง (Hosting) หรือ ที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์ของเรานั้นเอง
ซึ่งโฮสติ้งแต่ละที่จะมี DNS หรือ Name Server ที่ทางผู้ให้บริการโฮสติ้ง จะเป็นคนกำหนดและแจ้งให้เราทราบเพื่อเอาไปใส่ให้โดเมนเนมของเรา
 
เช่น DNS ของ DotRegis จะมีชื่อว่า NS1.DOTREGIS.COM และ NS2.DOTREGIS.COM ซึ่งคุณไม่ต้องกังวลในเรื่องนี้
 
เพราะถ้าคุณจด Domain Name และใช้บริการโฮสติ้งกับผู้ให้บริการเดียวกันจะไม่มีปัญหาอะไรเลย หรือแม้ว่าจะเป็นผู้ให้บริการต่างกัน
เพียงแค่นำ DNS ที่ได้ ไประบุให้กับโดเมนเนมนั้นตามที่ได้อธิบายไปแล้ว