วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Domain Name





โดเมนเนม(Domain Name)คืออะไร
 
โดเมนเนมภาษาอังกฤษเขียนว่า "Domain Name" โดเมนเนม ความหมายโดยทั่วๆไป หมายถึง ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ ชื่อเว็บไซต์ ชื่อบล็อก (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์
หรือ อีเมล์แอดเดรส) ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้จดจำและนำไปใช้งานได้ง่ายทั้งในการเข้าชมผ่านบราวเซอร์ของผู้ใช้ทั่วไป ยังรวมไปถึงผู้ดูแลระบบ Domain Name Server ที่สามารถ
แก้ไขไอพีแอดเดรส (IP Address) ของชื่อโดเมนเนม (Domain Name) นั้นๆ ได้ทันที
 
โดเมนเนม หรือ ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรสผู้ใช้ไม่จำเป็นต้อง
รับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไป


ข้อสำคัญในการจดโดเมน
 
1. ต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า 3 ตัวอักษร และมีตัวอักษร "a" ถึง "z" หรือ "A" ถึง "Z" หรือมี "0" ถึง "9" และ "-" ได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
2. ต้องไม่มีสัญลักษณ์พิเศษเช่น @!#$%^&*()_+= ต่างๆ
3. สามารถมี - ( Dash ) ขั้นได้ แต่ห้ามอยู่หน้าเช่น -yourdomain ไม่สามารถจดได้ ที่จดได้คือ yourdomain-a.com แต่ไม่สามารถจดแบบ yourdomain-.com ได้
 
ไอพีแอดเดรส (IP Address) 1 ไอพี สามารถใช้โดเมนเนมได้มากกว่า 1 โดเมนเนม และหลายๆ โดเมนเนมอาจจะใช้ไอพีแอดเดรสเดียวกันได้
ตัวอย่างต่อไปนี้ แสดงถึงความแตกต่างระหว่าง ยูอาร์แอล (URL) โดเมนเนม และ ซับโดเมน
• URL (ยูอาร์แอล) : http://www.domain.com
• Sub Domain (ซับโดเมน) : subdomain.domain.com
• Sub Domain (ซับโดเมน) : subdomain.domain.com
 
โดยทั่วไป ไอพีแอดเดรสกับชื่อเซิร์ฟเวอร์มักจะแปลงกลับไปมาได้ 1 ไอพีแอดเดรสมักหมายถึง 1 ชื่อเซิร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบัน ความสนใจในเรื่องเว็บทำให้จำนวนเว็บไซต์
มีมากกว่าเซิร์ฟเวอร์ โพรโทคอล HTTP จึงระบุว่าไคลเอนต์จะเป็นผู้บอกเซิร์ฟเวอร์ว่าชื่อใดที่ต้องการใช้ วิธีนี้ 1 เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ 1 ไอพีแอดเดรสจะใช้โดเมนเนมได้หลายชื่อ
ยกตัวอย่าง เซิร์ฟเวอร์ที่มีไอพี 123.45.67.89 อาจจะใช้งานโดเมนเนมเหล่านี้ได้:
• domain1.com
• domain2.com
• domain3.us

ประโยชน์ที่สำคัญ
 
+ประโยชน์ที่สำคัญของ DNS คือช่วยแปลงหมายเลขไอพีซึ่งเป็นชุดตัวเลขที่จดจำได้ยาก (เช่น 123.45.67.89) มาเป็นชื่อที่สามารถจดจำได้ง่ายแทน(เช่น domain-name.org)
 
องค์กรที่กำหนดและควบคุมโดเมน ได้แก่ ICANN
ICANN ย่อมาจาก Internet Corporation for Assigned Named and Numbers รายละเอียดดูได้จาก http://www.icann.org
+โดเมนเนม มีหลายสกุล แต่ที่นิยมมากที่สุดนั้นก็คือ .com เพราะเป็น เป็นสกุลในยุคแรกๆ ที่เริ่มใช้กัน และง่ายต่อการจดจำ






ประเภทของ Domain Name แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
 
1. โดเมน 2 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน
2. โดเมน 3 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ
 
โดเมนเนม 2 ระดับ
 
จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน เช่น www.dotregis.com
 
ประเภทของโดเมน คือ คำย่อขององค์กร โดยประเภทขององค์กรที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้ .com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์ ธุรกิจการค้า
.org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร เช่น สมาคม หรือมูลนิธิ
.net คือ องค์กรใด หรือบริษัทใด ที่ทำงานเกี่ยวกับ เกตเวย์ (Gateway) หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network)
.edu คือ สถาบันการศึกษา
.gov คือ องค์กรของรัฐบาล
.mil คือ องค์กรทางทหาร
.info คือ เว็บไซต์ที่นำเสนอข้อมูลเป็นหลัก
.biz คือ เว็บไซต์องค์กรที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้า
.name คือ เว็บไซต์ครอบครัว บุคคล
.mobi คือ เว็บไซต์โทรศัพท์มือถือ
.tel คือ เว็บไซต์การสื่อสาร
.travel คือ เว็บไซต์การท่องเที่ยว โรงแรม ทัวร์
* ทั้งนี้ เป็นเพียงหมวดหมู่ในการสื่อสารให้กับผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ให้ตรงกลุ่มเป้าหมายเท่านั้น
 
โดเมนเนม 3 ระดับ
 
จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ เช่น www.cu.ac.th, www.nectec.or.th, www.google.co.th
 
ประเภทขององค์กรที่พบบ่อย คือ
.co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
.ac คือ สถาบันการศึกษา
.go คือ องค์กรของรัฐบาล
.net คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย
.or คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
 
ตัวย่อของประเทศที่ตั้งขององค์กร
.th คือ ประเทศไทย .au คือ ประเทศออสเตรเลีย
.cn คือ ประเทศจีน .de คือ ประเทศเยอรมัน
.jp คือ ประเทศญี่ปุ่น
.uk คือ ประเทศอังกฤษ .us คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา
.vn คือ ประเทศเวียดนาม
 
+โดเมนระดับบนสุดตามรหัสประเทศใช้งานอยู่
 
.AC .AD .AE .AF .AG .AI .AL .AM .AN .AO .AQ .AR .AS .AT .AU .AW .AX .AZ .BA .BB .BD .BE .BF .BG .BH .BI .BJ .BM .BN .BO .BR .BS .BT .BW .BY .BZ .CA
.CC .CD .CF .CG .CH .CI .CK .CL .CM .CN .CO .CR .CU .CV .CX .CY .CZ .DE .DJ .DK .DM .DO .DZ .EC .EE .EG .ER .ES .ET .EU .FI .FJ .FK .FM .FO .FR .GA .GD
.GE .GF .GG .GH .GI .GL .GM .GN .GP .GQ .GR .GS .GT .GU .GW .GY .HK .HM .HN .HR .HT .HU .ID .IE .IL .IM .IN .IO .IQ .IR .IS .IT .JE .JM .JO .JP .KE .KG .KH
.KI .KM .KN .KP .KR .KW .KY .KZ .LA .LB .LC .LI .LK .LR .LS .LT .LU .LV .LY .MA .MC .ME .MD .MG .MH .MK .ML .MM .MN .MO .MP .MQ .MR .MS .MT
.MU .MV .MW .MX .MY .MZ .NA .NC .NE .NF .NG .NI .NL .NO .NP .NR .NU .NZ .OM .PA .PE .PF .PG .PH .PK .PL .PN .PR .PS .PT .PW .PY .QA .RE .RO .RS .RU
.RW .SA .SB .SC .SD .SE .SG .SH .SI .SK .SL .SM .SN .SR .ST .SV .SY .SZ .TC .TD .TF .TG .TH .TJ .TK .TL .TM .TN .TO .TR .TT .TV .TW .TZ .UA .UG .UK .US
.UY.UZ .VA .VC .VE .VG .VI .VN .VU .WF .WS .YE .ZA .ZM .ZW



Domain Name แบ่งออกตามการจดทะเบียนได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศ
2. การจดทะเบียนโดเมนภายในประเทศ
 
ตัวอย่างโดเมนของประเทศต่าง ๆ
โดเมนสำหรับประเทศไทย การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศ ( gTLD - Generic)
.com
.net
.org
 
การจดทะเบียนโดเมนภายในประเทศ (สำหรับประเทศไทย)(ccTLD - Country Code Top-level Domain)
Top - Level Domain
.th
 
Second - Level Domains
.co.th ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป (Commercial)
.or.th ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ และชื่อโดเมนต้องเป็นชื่อขององค์กร หรือตัวย่อของชื่อองค์กรนั้นๆ (Non-profit organizations)
.ac.th ใช้ทำเว็บไซต์ของสถานศึกษาต่างๆ ชื่อของโดเมนที่จดทะเบียนต้องเป็นชื่อของสถานศึกษานั้นๆหรือชื่อย่อของชื่อสถานศึกษา
.go.th ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการของประเทศไทย โดยปกติจะเป็น องค์กรขนาดใหญ่ (Governmental)
.in.th ใช้ทำเว็บไซต์ของบุคคลธรรมดาโดยทั่วไป ชื่อโดเมนจะใช้ชื่ออะไรก็ได้ ( Individuals or organizations)
.mi.th (Military)
.net.th (Internet provider)
 
+โดเมนสำหรับประเทศสหราชอาณาจักร การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศ ( gTLD - Generic)
.com, .net, .org
 
การจดทะเบียนโดเมนภายในประเทศ (สำหรับประเทศสหราชอาณาจักร) (ccTLD - Country Code)
Top - Level Domain
.uk
 
Second - Level Domains
.ac.uk - academic (tertiary education, further education colleges and research establishments) and learned societies
.co.uk - general use (usually commercial)
.gov.uk - government (central and local)
.ltd.uk - limited companies
.me.uk - general use (usually personal)
.mod.uk - Ministry of Defence and HM Forces public sites
.net.uk - ISPs and network companies
.nhs.uk - National Health Service institutions
.nic.uk - network use only (Nominet UK)
.org.uk - general use (usually for non-profit organisations)
.parliament.uk - parliament (MPs, etc, and also the Scottish Parliament)
.plc.uk - public limited companies
.police.uk - police forces
.sch.uk - local education authorities, schools, primary and secondary education, community education
 
+โดเมนสำหรับประเทศญี่ปุ่น การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศ ( gTLD - Generic)
.com, .net, .org
 
การจดทะเบียนโดเมนภายในประเทศ (สำหรับประเทศญี่ปุ่น) (ccTLD - Country Code)
Top - Level Domain
.jp
 
Second - Level Domains
ac.jp: higher level academic institutions, such as universities
ad.jp: JPNIC members
co.jp: most forms of incorporated companies, including foreign companies registered in Japan
ed.jp: educational institutions for individuals under 18
go.jp: Japanese government ministries and their endeavours
gr.jp: groups of two or more people, or groups of registered companies
lg.jp: local government authorities
ne.jp: network service providers
or.jp: registered organizations and non-profit organizations
 
+โดเมนสำหรับประเทศสหรัฐ การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศ ( gTLD - Generic)
.com, .net, .org
 
การจดทะเบียนโดเมนภายในประเทศ (สำหรับประเทศสหรัฐ) (ccTLD - Country Code)
Top - Level Domain
.us
 
Second - Level Domains
.ny.us for New York, and .va.us for Virginia.
.fed.us: federal government agencies (an alternative to .gov)
.kids.us: content "suitable for children under 13"
.nsn.us: Native sovereign nations (federally recognized Native American tribes)



ขอสิ่งสำคัญของชื่อเว็บไซต์
 
+โดเมนเนม ถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่มองข้ามไม่ได้เลยสำหรับเว็บไซต์นั้นๆ โดยเฉพาะกับการโฆษณาบนอินเตอร์เน็ต
ถ้าได้ชื่อที่เฉพาะเจาะจง ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจเป็นพื้นฐานเดิมอยู่แล้วนั้น จะทำให้โดเมนเนม หรือ เว็บไซต์นั้นๆ
จะได้รับความสนใจและเป็นที่จดจำได้ง่าย ไม่ใช่กับผู้เข้าชมหรือกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาชมเว็บไซต์ผ่านโดเมนเนมเท่านั้นยังรวม
ไปถึง Search Engine ชื่อดังต่างๆ เช่น Google, Yahoo, MSN เป็นต้น ที่จะเข้ามาแวะเวียนเข้ามาทำ index (Bot มาเก็บข้อมูล)
กับเว็บเพจหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์ของเรา
 
หลังจากจดโดเมนเนมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งสำคัญลำดับถัดมานั้นก็คือ โฮสติ้ง (Hosting) หรือ ที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์ของเรานั้นเอง
ซึ่งโฮสติ้งแต่ละที่จะมี DNS หรือ Name Server ที่ทางผู้ให้บริการโฮสติ้ง จะเป็นคนกำหนดและแจ้งให้เราทราบเพื่อเอาไปใส่ให้โดเมนเนมของเรา
 
เช่น DNS ของ DotRegis จะมีชื่อว่า NS1.DOTREGIS.COM และ NS2.DOTREGIS.COM ซึ่งคุณไม่ต้องกังวลในเรื่องนี้
 
เพราะถ้าคุณจด Domain Name และใช้บริการโฮสติ้งกับผู้ให้บริการเดียวกันจะไม่มีปัญหาอะไรเลย หรือแม้ว่าจะเป็นผู้ให้บริการต่างกัน
เพียงแค่นำ DNS ที่ได้ ไประบุให้กับโดเมนเนมนั้นตามที่ได้อธิบายไปแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น